วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โปรแกรมวัคซีนสัตว์เลี้ยงวัยเด็ก

Package Wow Wow.

เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้สัตว์เลี้ยงสุดรักอย่างครบถ้วน ทั้งน้องหมาและน้องแมว .

 

>>หมดกังวลเรื่องโปรแกรม<< ว่าต้องทำอะไรบ้าง??  เพราะเรามีคูปองแจ้งชนิดวัคซีนทั้งโปรแกรมให้ได้ทราบ

>>หมดกังวลเรื่องการลืมวัน<<  เพราะเรามีระบบแจ้งเตือนนัดระบบ SMS ทำให้คุณไม่พลาด แม้แต่เข็มเดียว

รายละเอียดแพคเกจ

 

 

 

 

โปรแกรมวัคซีนสำหรับสุนัข ราคา 2,599 บาท  ประกอบด้วย

- วัคซีนป้องกันไข้หัดและลำไส้อักเสบ     1     ครั้ง
- วัคซีนรวม 5 โรค                                 3     ครั้ง
- วัคซีนพิษสุนัขบ้า                                2     ครั้ง
- ถ่ายพยาธิทางเดินอาหาร                     6     ครั้ง
- ป้องกันเห็บหมัด พยาธิหนอนหัวใจ       2     ครั้ง


 

 

 

 

โปรแกรมวัคซีนสำหรับแมว ราคา 2,999 บาท ประกอบด้วย

- วัคซีนหัด-หวัดแมว                             3     ครั้ง
- วัคซีนพิษสุนัขบ้า                               2     ครั้ง
- ป้องกันพยาธิหนอนหัวใจและไรในหู     2      ครั้ง
- ถ่ายพยาธิทางเดินอาหาร                    4      ครั้ง
- ชุดตรวจลิวคีเมียและไวรัสเอดส์แมว     1      ครั้ง

เงื่อนไขการใช้บริการ

1.  คูปองไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้
2. สามารถใช้ได้ที่โรงพยาบาลเพื่อนสัตว์เลี้ยงศรีราชาสาขาใหญ่เท่านั้น
3. คูปอง1ใบ ใช้ได้เพียงครั้งเดียว/สัตว์ 1 ตัว
4. สามารถใช้เพื่อรับบริการเฉพาะตามที่ระบุไว้บนคูปองเท่านั้น
5. ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนเงื่อนไขโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
6. ราคานี้ รวมค่าธรรมเนียมแพทย์ ค่าบริการโรงพยาบาล แล้ว
7. แถมฟรี ตัดเล็บ เช็ดหู

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมหรือสั่งซื้อแพคเกจได้ที่โรงพยาบาลเพื่อนสัตว์เลี้ยงศรีราชา
โทร 038-773007 / 089-2448865
#โรงพยาบาลเพื่อนสัตว์เลี้ยงศรีราชา
"ใส่ใจในสุขภาพ เพื่อเพื่อนที่คุณรัก"
Fanpage : petfriendsHospital



วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

อาหารต้องห้ามสำหรับสุนัข

อาหารต้องห้ามสำหรับสุนัข


                การให้อาหารแก่สุนัขนั้นผู้เลี้ยงควรมีความรู้และความเข้าใจในความต้องการของสุนัข หลายคนนิยมให้อาหารสำเร็จรูปเพราะสะดวกสบายไม่ต้องเสียเวลาในการเตรียมอาหาร มีสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน และอุจจาระของสุนัขยังเป็นก้อนง่ายต่อการทำความสะอาด แต่บางท่านก็ยังนิยมให้อาหารสุนัขตามความต้องการของตนเอง โดยผู้เลี้ยงเข้าใจว่า สุนัขมีความต้องการและความสามารถในการกินได้เช่นเดียวกับคน แต่แท้จริงแล้วการที่สุนัขทานอาหารแบบคนอาจทำให้ได้รับสารอาหารที่ไม่สมดุลย์ คือมากหรือน้อยเกินไปได้ นอกจากนี้ยังมีอาหารของคนที่เป็นอาหารต้องห้ามของสุนัขที่ผู้เลี้ยงควรหลีกเลี่ยงไม่นำมาให้สุนัขกินได้แก่
ช็อกโกแลต 
มีกลุ่มสารประกอบชื่อเมธิลแซนธีน (methylxanthine) ซึ่งสารกลุ่มนี้ได้แก่ คาเฟอีน (caffeine) และสารธีโอโบรมีน (theobromine) สารเหล่านี้สามารถทำให้หัวใจของสุนัขเต้นเร็วขึ้นสองเท่า กลุ่มสารเมธิลแซนธีนในปริมาณน้อยอาจจะทำให้สุนัขอาเจียนและท้องร่วงได้ ถ้ารับสารธีโอโบรมีนหรือคาเฟอีนในปริมาณมากอาจมีอาการกล้ามเนื้อสั่นหรือชักได้ สุนัขที่กินช็อกโกแลตในปริมาณน้อยจะสามารถกำจัดกลุ่มสารเมธิลแซนธีนออกจากร่างกายได้เองโดยไม่ต้องรักษาได้ แต่สุนัขที่กินเข้าไปมากควรทำการรักษาโดยทำให้อาเจียนและให้กินผงถ่านเพื่อดูดซับสารเมธิลแซนธีนที่ตกค้างภายในลำไส้หรือที่อยู่ในเลือด

องุ่น ลูกเกด

ทำให้ไตล้มเหลวถึงตายได้ การกินองุ่นหรือลูกเกดในขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 3 กรัมต่อน้ำหนักตัวสุนัข 1 กิโลกรัม สามารถทำให้สุนัขแสดงความผิดปกติต่างๆ ได้ โดยสุนัขจะแสดงอาการอาเจียนภายใน 2-3 ชั่วโมง ตามมาด้วยอาการเบื่ออาหาร ซึม ท้องเสีย และแสดงอาการปวดท้อง ความเป็นพิษที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ สุนัขจะแสดงอาการของภาวะไตวายเฉียบพลัน และอาจเสียชีวิตในที่สุด

หัวหอมและกระเทียม

มีส่วนประกอบของ Thiosulphate ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายผนังเซลล์ของเม็ดเลือดแดง ทำให้การนำเอา oxygen ไปใช้ไม่เพียงพอต่อร่างกายสุนัข ถึงแม้ว่าจะได้กินเพียงแค่ 2 ชิ้นต่อสัปดาห์ก็เป็นปริมาณที่มากพอที่จะทำให้สุนัขมีอาการอ่อนแอ เพลีย น้ำหนักลด ซึม ท้องเสีย อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว (เรียกอาการที่เกิดจากกินหัวหอมว่า Heinz body hemolytic anemia)

ถั่วแมคคาดิเมีย 

จากการวิจัยยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสารชนิดใดในถั่วแมคคาดิเมียที่เป็นอันตรายต่อสุนัข อาการที่พบคือ เป็นไข้ ใจสั่น อาเจียน ปวดท้องรุนแรง ซี่โครงยุบตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยเฉพาะขาหลัง หรือ อาจทำให้สองขาหลังเป็นอัมพาต โดยอาการดังกล่าวจะหายไปหลังจากสุนัขกินเป็นเวลา 72 ชั่วโมง นอกจากถั่วแมคคาดิเมียแล้วถั่วอื่นๆ ก็มีรายงานถึงความเป็นพิษ เนื่องจากมีสาร Phosphorus เป็นจำนวนมากซึ่งจะทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้
อโวคาโด ทั้งผล เมล็ด ลำต้น ทำให้หายใจลำบาก น้ำท่วมปอด เจ็บหน้าอก ปวดท้อง
บลอคโคลี่ ทำให้เกิดแก๊สในท้องจำนวนมาก

เชอร์รี่ ทำให้หายใจเร็ว ช็อค ปากบวมเห่อ อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น

เห็ด จะทำให้อาหารไม่ย่อย มีผลในการทำลายต่อตับไต เกิดอาการ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน

ลูกจันทน์ จะเกิดอาการใจสั่น หรืออาจเกิดอาการลมชักอย่างปัจจุบันทันด่วน และอาจเสียชีวิตได้

ยาสูบ ทำให้น้ำลายฟูมปาก คลื่นไส้ อาเจียน ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

กระดูกไก่ ปลา รวมถึงอาหารที่มีลักษณะเป็นของมีคมขนาดเล็ก เนื่องจากอาจแตกหักระหว่างที่สุนัขขบเคี้ยวจนทิ่มแทงทำอันตรายให้กับทางเดินอาหารของสุนัขได้



บทความดีๆจาก  สัตวแพทย์หญิงอาภาพร  เจตนาวณิชย์ (คุณหมอพร)



โรงพยาบาลเพื่อนสัตว์เลี้ยงศรีราชา

ติดต่อสอบถาม 

Fanpage : petfriendsHospital


โทร 038-773007 / 089-2448865

Fax : 038-773339

IG : Petfriends_sriracha

Line@ : @petfriends
E-mail : petfriends2010@hotmail.com
ติดต่อเรา 1/16 หมู่ 4 ถนนสุขุมวิท ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110







วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ขนสุนัขเข้าปอดคนได้จริงหรือ?

ขนสุนัขเข้าปอดคนได้จริงหรือ?

จริงหรือไม่ ที่ขนสุนัขจะเข้าปอดของคนได้?

เรื่องขนสุนัขเข้าปอดคนนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะอะไรก็ตามที่จะลงไปในปอดได้นั้น ต้องมีขนาดเล็กมากๆ และหากจะผ่านทางเดินหายใจไปถึงปอดได้ จะต้องผ่านกลไกการขับออกของร่างกาย เพราะปกติร่างกายก็จะมีการปฏิเสธสิ่งแปลกปลอมอยู่แล้ว เช่น จาม ไอ สร้างเมือก (เสมหะ) มาจับ หรือใช้ cilia (ซีเลีย) พัดโบกออกมา ขนาดของวัตถุที่จะเข้าไปในปอดได้นั้น ต้องมีขนาดเล็กกว่า 3-5 ไมครอนเท่านั้นซึ่งเล็กมากๆ ดังรูป


โรคจากน้องหมาสู่คนที่ควรระวัง

น้องหมาสามารถนำโรคมาสู่คนได้เหมือนกัน โรคที่ติดต่อสู่คนนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส ปรสิตทั้งภายในและภายนอก ฯลฯ โดยคนรับเอาโรคนี้มาจากการสัมผัสน้ำลาย สารคัดหลั่ง อุจจาระ ปัสสาวะ การสัมผัสตัวน้องหมาโดยตรง หรือทางอ้อมผ่านทางอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ โรคที่สำคัญๆ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า  โรคฉี่หนู โรคเชื้อราผิวหนัง หรือแม้แต่หนอนพยาธิในทางเดินอาหาร ฯลฯ ดังนั้นคนเลี้ยงสัตว์ต้องคอยระมัดระวัง และป้องกันโดยการพาน้องหมาไปฉีดวัคซีน ถ่ายพยาธิ ป้องกันเห็บหมัด และพยาธิหนอนหัวใจ แล้วอย่าลืมทำความสะอาดมือหรือร่างกายทุกครั้งที่สัมผัสน้องหมา ก่อนทำกิจกรรมอื่นๆ ต่อไปด้วยนะคะ

บทความดีๆจาก  สัตวแพทย์หญิงอาภาพร  เจตนาวณิชย์ (คุณหมอพร)



โรงพยาบาลเพื่อนสัตว์เลี้ยงศรีราชา

ติดต่อสอบถาม 

Fanpage : petfriendsHospital


โทร 038-773007 / 089-2448865

Fax : 038-773339

IG : Petfriends_sriracha
Line@ : @petfriends
E-mail : petfriends2010@hotmail.com
ติดต่อเรา 1/16 หมู่ 4 ถนนสุขุมวิท ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

สัตว์เลี้ยงเป็นโรคไตได้ด้วยหรือ









สัตว์เลี้ยงเป็นโรคไตได้ด้วยหรือ






    ไตทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด รักษาสมดุลของสารน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย รวมถึงทำหน้าที่คล้ายต่อมไร้ท่อ ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมความดันเลือด และสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกาย สัตว์มีไตสองข้างเช่นเดียวกับมนุษย์ แต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยไตเล็กๆ นับเป็นแสนๆ หน่วย เมื่อสัตว์มีอายุมากขึ้น หน่วยไตจะค่อยๆ เสื่อมและลดปริมาณลง หน่วยไตที่เสียหายแล้วร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนใหม่ ส่วนที่ยังเหลืออยู่จะต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อชดเชยหน่วยไตที่เสียไปแล้ว โดยปกติแล้วหากหน่วยไตเสียหายไม่เกิน 75% ไตส่วนที่เหลือยังสามารถทำงานชดเชยได้ ทำให้ระดับของครีเอตินีน (Creatinine) และยูเรีย (Urea) ในเลือด ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกการทำงานของไต ยังไม่พบความผิดปกติ แต่เมื่อหน่วยไตเกิดความเสียหายเกิน 75% แล้ว จึงเกิดภาวะไตวายขึ้น เมื่อตรวจเลือดและปัสสาวะก็จะพบความผิดปกติ
                โรคไตอาจเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยงด้วยกัน เช่น อายุมาก อาหาร พันธุ์สัตว์ที่มีแนวโน้มการเกิดความผิดปกติของไตตั้งแต่กำเนิด เช่น ชิสุ ชเนาส์เซอร์ รวมถึงพฤติกรรมตัวสัตว์เองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น กินน้ำน้อย หรือชอบเลียกินน้ำไม่เลือกที่ เช่น ตามพื้นที่มีสารเคมี น้ำในกระถาง ต้นไม้ที่ใส่ปุ๋ย หรืออาศัยในบริเวณที่ใช้ยาฆ่าแมลง และสารที่เป็นพิษต่อไต เป็นต้น

ภาวะของโรคไตอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะด้วยกันคือ

ระยะที่ 1. ภาวะที่ไตเสียหายมากกว่า 67% ระยะนี้เราจะเรียกสัตว์ว่าเป็นโรคไต แต่ยังไม่ถือว่าเป็นไตวายเรื้อรัง สัตว์จะไม่แสดงความผิดปกติใดๆ อาจแสดงอาการกินน้ำเยอะ ปัสสาวะเยอะ ชอบปัสสาวะตอนกลางคืน การตรวจเช็คเลือดค่าครีเอตินีน (Creatinine) และยูเรีย (Urea) จะไม่พบความผิดปกติ แต่หากทำการตรวจปัสสาวะจะพบว่า ความถ่วงจำเพาะต่ำกว่าปกติ รวมทั้งมักตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ดังนั้นหากสัตว์เลี้ยงมีอายุมากกว่า 6 ปี จึงควรตรวจปัสสาวะร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปีด้วย หากพบว่าสัตว์อยู่ในระยะนี้เราสามารถช่วยชะลอความเสียหายของไตให้ช้าลงได้ ด้วยการให้อาหารที่มีการจำกัดโปรตีนและฟอสฟอรัส ซึ่งมีจำหน่ายในรูปแบบของอาหารสำเร็จรูปสำหรับสัตว์อายุ มาก เช่น อาหารโรคไต หรืออาหารโรคหัวใจ เป็นต้น

ระยะที่ 2. ภาวะที่ไตเสียหายมากกว่า 75% ระยะนี้จึงเรียกว่าเป็นไตวายเรื้อรัง สัตว์บางตัวอาจไม่แสดงอาการผิดปกติให้เห็นชัดเจน แต่หากตรวจเลือดวัดระดับการทำงานของไตครีเอตินีน (Creatinine) และ ระดับยูเรีย (Urea) ซึ่งบ่งบอกถึงปริมาณของเสียที่มีอยู่ในเลือด พร้อมกับตรวจปัสสาวะจะพบความผิดปกติ ความรุนแรงของอาการจะขึ้นกับความสามารถของไตในการขับเอาของเสียออก หากเกิดการคั่งในเลือดจนเกินระดับความทนทานของสัตว์ สัตว์จะแสดงอาการซึม เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด อาเจียน และมีถ่ายเหลว

ระยะที่ 3. ระยะสุดท้าย อาการจะรุนแรงมากขึ้น อาเจียนบ่อยครั้ง ถ่ายเหลวดำคล้ำ กลิ่นปากจะคล้ายกับกลิ่นของปัสสาวะ มีแผลหลุมในปาก กินอาหารไม่ได้ หมดแรง บางตัวหากเกิดการคั่งของของเสียในเลือดมากๆ จะเกิดอาการชัก ทุรนทุราย หมดสติ และ เสียชีวิตในที่สุด
                ภาวะแทรกซ้อนของโรคไตที่พบได้บ่อย ได้แก่ ภาวะร่างกายเป็นกรดมากกว่าปกติ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะโลหิตจาง ภาวะกระดูกพรุน ภาวะของเสียคั่งในเลือด




บทความดีๆจาก  สัตวแพทย์หญิงอาภาพร  เจตนาวณิชย์ (คุณหมอพร)



โรงพยาบาลเพื่อนสัตว์เลี้ยงศรีราชา

ติดต่อสอบถาม 

Fanpage : petfriendsHospital


โทร 038-773007 / 089-2448865
Fax : 038-773339
IG : Petfriends_sriracha
Line@ : @petfriends
E-mail : petfriends2010@hotmail.com
ติดต่อเรา 1/16 หมู่ 4 ถนนสุขุมวิท ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110